ตะลึง! แก๊งบิดเบือนข้อมูลกัญชา อ้างผลวิจัยเก๊
1 min readด้าน ดร.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงข้อมูลของกลุ่มหมอต่อต้านกัญชาที่อ้างว่าทำให้ผู้ป่วยจิตเวทเพิ่มหลังเปิดเสรี ระบุว่า สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำรายงานจากรมสุขภาพจิตพบความจริงว่าในปีงบประมาณ 2566 มีผู้รับบริการด้านจิตเวชประมาณ 2.9 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2562 ซึ่งเป็นปีเริ่มเข้าสู่โควิด-19 คือประมาณ 2.8 ล้านคน และน้อยกว่าปี 2561 ด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่า ในปี 2564 ก่อนปลดล็อกกัญชามีผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับบริการใช้ยาบ้าและสารเสพติดอื่นๆ คือเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.5 ลดลงมาเหลือร้อยละ 13.7 ในปี 2565 และลดลงเหลือร้อยละ 12.8 ในปี 2566 โดยฐานข้อมูลของ HDC กระทรวงสาธาณสุขระหว่างปีงบประมาณ 2564-2567 สถิติผู้มารับการบำบัดและฟื้นฟูยาเสพติดลดลงเฉลี่ยเดือนละ 2,225 ราย แบ่งเป็น ปีงบประมาณ 2564 เฉลี่ยต่อเดือน 14,647 ราย, ปีงบประมาณ 2565 เฉลี่ยต่อเดือน 10,514 ราย, ปีงบประมาณ 2566 เฉลี่ยต่อเดือน 13,883 ราย และ 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 เฉลี่ย 10,789 ราย ดังนั้นการปลดล็อกกัญชาแล้วเพิ่มปัญหาจิตเวชและเพิ่มการบำบัดรักษาและฟื้นฟูยาเสพติดจึงเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
“จากสถิติของข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดในประเทศไทยถึง 3 เดือนแรกของต้นปีงบประมาณ 2566 พบว่า ผู้ที่เข้าบำบัดรักษามากถึง 75% คือ ยาบ้า ในขณะที่กัญชามีผู้เข้ารับการบำบัดเพียงประมาณ 4%” ดร.ปานเทพกล่าว
ด้านงานวิจัยในจังหวัดภาคอีสานพบว่า การเก็บข้อมูลผู้ป่วยอ้างใช้กัญชากระทบสุขภาพ แต่ตรวจหาสารจริงแค่ 36% พบใช้จริงไม่ถึงครึ่ง! โดย มีการส่งตรวจหากัญชาในร่างกายเพียง 36% จึงมีโอกาสผิดพลาดสูง นอกจากนี้ผลที่ส่งตรวจ ก็ตรวจพบกัญชา เพียง 25 ราย คิดเป็น 40.3% ของที่ส่งตรวจเท่านั้น แสดงว่าวินิจฉัยผิดพลาดไป 60% ในคนที่ส่งตรวจ อีกทั้งคนใช้สารเสพติดรุนแรง เช่น ยาบ้า จะอ้างว่าตนใช้กัญชา เพราะกัญชาไม่ผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ หรือใช้ร่วมกับยาบ้า
เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีเฉพาะประวัติเรื่องกัญชาเพียงอย่างเดียว กับกลุ่มที่มีประวัติเรื่องอื่นๆด้วย (ใช้ยาบ้า/มีโรคทางจิตเวช) พบว่า กลุ่มที่มีประวัติเรื่องการใช้ยาบ้า/ยาทางจิตเวช จะมีอาการกลุ่ม “ก้าวร้าว” และกลุ่มอาการ “หลอน” มากกว่า กลุ่มที่มีแต่ประวัติเรื่องกัญชาเพียงอย่างเดียว (24.6 % vs 8.7 % และ 32.5 % vs 15.2 %) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value เท่ากับ 0.022 และ 0.025)
มีข้อสังเกตว่า บางโรงพยาบาลที่วินิจฉัยภาวะกลุ่มอาการแบบโรคจิต (F12.5) มากกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ อย่างชัดเจน (ร้อยละ 80) ทั้งๆ ที่โรงพยาบาลแห่งนั้น ตรวจหากัญชาน้อยมาก ตรวจเพียง 1 ราย เท่านั้น จากผู้ป่วยที่มา 30 ราย