หนุ่มโคราชสู้ไม่ถอย! ปลูกแล้วเจ๊ง ผันตัวผลิตกัญชาส่งออกยุโรป
1 min readหลังจากที่อุตสาหกรรมกัญชาไทยเจอสภาวะราคาร่วงลงอย่างหนัก จากปัญหาการลักลอบนำเข้าและผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้หนุ่มโคราชคนหนึ่งต้องยอมทิ้งแปลงปลูกกัญชาวิสาหกิจชุมชน ไปสู่การปลูกกัญชาคุณภาพสูงเพื่อส่งออกเจาะตลาดยุโรป-เยอรมัน สร้างรายได้กิโลกรัมละ 100,000 บาท ออเดอร์คล่อง-ความต้องการสูง-ขายได้ราคาดีกว่าในไทย 50 เท่า!!
นักปลูกจากโคราชคนนี้ต้องเจอกับสภาพราคากัญชาในไทยเหลือกิโลกรัมละไม่ถึง 2,000 บาท กดดันผู้ผลิตรายย่อยให้ไม่สามารถไปต่อได้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ผลิตในประเทศ ดังนั้นจึงมีกลุ่มผู้ผลิตบางส่วนหันมาเดินเกมปลูกเพื่อส่งออกมูลค่าสูงด้วยระบบแอโรโปนิกส์ ซึ่งช่วยทั้งเพิ่มผลผลิตและการันตีความสะอาดของดอกไม้
หนุ่มโคราชได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและผู้ผลิตในประเทศ จึงหันมาใช้เทคโนโลยีการปลูกแบบใหม่เพื่อเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์กัญชาโดยเฉพาะการปลูกในระบบแอโรโปนิกส์ (Aeroponics) ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงจนสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ ทั้งใน ออสเตรเลีย เยอรมนีและยุโรป ทำให้สามารถขายกัญชาในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100,000 บาท หรือคิดเป็นราคาขายสูงกว่าในไทยถึง 50 เท่าตัว โดยขณะนี้มีออเดอร์จากประเทศออสเตรเลีย และเยอรมนี สั่งเข้ามาแล้ว เตรียมส่งมอบสินค้าล็อตแรกในปลายเดือนสิงหาคมนี้
นายอภิบาล ศรียาภัย นักปลูกจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตลาดกัญชาในยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมนี ที่เป็นผู้บริโภคกัญชาทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดในยุโรป กำลังเป็นเป้าหมายหลักของบริษัทไทยในการขยายการส่งออก ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อหาโอกาสทางตลาดใหม่ๆ ในส่วนของสถานการณ์ภายในประเทศ การปลูกกัญชายังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านกฎหมาย แม้จะมีการเปิดเสรีบางส่วนในการปลูกและใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่การควบคุมยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาผลิตภัณฑ์ล้นตลาดในประเทศหากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง
“การส่งออกเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในตลาดต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการปลูกกัญชาเพิ่มเติมในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย และร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาการผลิตที่มีคุณภาพสูงและมีความยั่งยืนในระยะยาว”
“การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการปลูกกัญชาเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่สามารถยกระดับอุตสาหกรรมกัญชาไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แต่ความสำเร็จในระยะยาวยังคงขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาครัฐและการปรับตัวของบริษัทไทยต่อความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” นายอภิบาล กล่าว