Channel Weed Thailand

420PRODUCTION.CO.,LTD

เตือนภัย! ปุ๋ยค้างคาว คร่าชีวิตนักปลูก

1 min read

กลายเป็นกระแสฮือฮาของวงการกัชาในสหรัฐฯ เมื่อมีผู้เสียชีวิตจากการปลูกกัญชาโดยใช้ปุ๋ยขี้ค้างคาว (Bat guano) เนื่องจากติดเชื้อราจากแบคทีเรียของค้างคาว นำไปสู่อาการปอดอักเสบรุนแรง ระบบร่างกายล้มเหลวจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา . รายงานข่าวระบุว่า นักปลูกคนแรกอายุ 59 ปี ซื้อขี้ค้างคาวมาเพื่อปลูกกัชาก่อนเริ่มเกิดอาการป่วยรุนแรงหลังใช้ปลูกเพียงไม่นาน ส่วนอีกรายอายุ 64 ปี นั้นนำปุ๋ยขี้ค้างคาวตามธรรมชาติมาใช้เพื่อปลูกกั*ชา เนื่องจากปุ๋ยขี้ค้างคาวนั้นมีประสิทธิภาพในช่วงเวลาทำใบ (Vegetative Stage) โดดเด่นในด้านไนโตรเจน (N) รวมถึงมีความสมดุลในค่าฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) เช่น สูตร of 8-1-1 หรือสูตร 7-3-1 ทั้งยังอนุญาตให้จำหน่ายได้ในสหรัฐภายใต้ใบอนุญาตที่ถูกกฎหมาย

โรคติดเชื้อรา Histoplasmosis เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Histoplasma capsulatum ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากค้างคาวที่พบได้บ่อยที่สุด โดยการแพร่กระจายของเชื้อราชนิดนี้เกิดขึ้นผ่านดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์ที่ปนเปื้อนสิ่งขับถ่ายและซากสัตว์ต่างๆในรูปของละอองสปอร์ที่ปลิวฟุ้งในอากาศ (conidia) หากมีการสูดหายใจเข้าไปในปอด โดยความรุนแรงของโรคขึ้นกับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และระดับภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ

หากได้รับเชื้อมากอาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบชนิดรุนแรง ที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) อาจนำไปสู่อาการรุนแรง เช่น ตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองโต พบแผลเปื่อยภายในปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร ลำไส้และผิวหนัง ภาวะต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ และภาวะเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต

“การเสียชีวิตในครั้งนี้จะเป็นหนึ่งในเครื่องเตือนภัยผู้ปลูกกัญชาให้ระมัดระวังการติดเชื้อจากปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนผสมของซากพืชซากสัตว์จำนวนมากโดยเฉพาะปุ๋ยค้างคาวที่มีความเสี่ยงติดเชื้อราทางปอด” ผลชันสูตรของแพทย์ระบุ

ทั้งนี้หน่วยงานด้านสาธารณสุขในสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศเตือนผู้ใช้ปุ๋ยขี้ค้างคาวปลูกต้นไม้ให้สวมหน้ากากกันฝุ่น เมื่อเปิดถุงปุ๋ยปรับปรุงดินและเมื่อโรยปุ๋ยในสวน ซึ่งการสวมหน้ากากจะช่วยปกป้องคุณจากการหายใจเอาสปอร์เชื้อราที่ฟุ้งกระจายในอากาศเข้าไปในปอด รวมถึงกาตตรวจสอบผู้ปลิตปุ๋ยค้างคาวว่ามีการดำเนินงานที่ถูกหลักสุขอนามัยหรือไม่ รวมถึงการตรวจสอบใบรับรองต่างๆจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของนักปลูกเอง

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *