Channel Weed Thailand

420PRODUCTION.CO.,LTD

รวมวิธีสังเกต ’อาการแพ้กัญชา’ และใช้กัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย

1 min read

กัญชา หรือ Cannabis มีสารสกัดสำคัญสองชนิดคือ THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทของมนุษย์ โดยกัญชามีกลิ่นและรสชาติที่ต่างกัน มักมีกลิ่นหอมและรสชาติหวานเบาๆ ซึ่งทางการแพทย์ได้นำกัญชาใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน เช่น ช่วยในการผ่อนคลายร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ ลดอาการเครียดและซึมเศร้า และแม้ว่ากัญชาจะมีสรรพคุณทางการแพทย์มากมาย แต่การตอบสนองต่อฤทธิ์ของกัญชาก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเช่นกัน บางคนใช้แล้วได้ผลลัพธ์ดี บางคนมีอาการแพ้ ซึ่งมีทั้งแพ้แบบอาการไม่รุนแรงและอาการรุนแรง ซึ่งอาการแพ้แบบที่รุนแรงนี้หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจเกิดอันตรายจนถึงชีวิตได้ ในบทความนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาเช็กอาการแแพ้กัญชากัน ว่ามีวิธีสังเกตอาการอย่างไร และมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง รวมไปถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย

อาการแพ้กัญชาเป็นอย่างไร

การแพ้กัญชาเป็นผลมาจากการตอบสนองของร่างกายที่ผิดปกติต่อสารที่มีอยู่ในกัญชา โดยอาจเกิดจากความไวต่อสาร การมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง หรือการเป็นภูมิแพ้ สำหรับอาการแพ้กัญชา จำแนกเป็นอาการแพ้กัญชาแบบไม่รุนแรงและอาการแพ้กัญชาแบบรุนแรง โดยมีวิธีสังเกตอาการดังนี้

อาการแพ้กัญชาแบบไม่รุนแรง

อาการแพ้กัญชาแบบไม่รุนแรง สามารถสังเกตได้ง่าย เพราะเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา ดังนั้นหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาควรสังเกตอาการทันที เพื่อหาทางแก้ไขก่อนที่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น อาการแพ้กัญชาแบบไม่รุนแรงที่มักพบในผู้ใช้ คือ

  • มีอาการง่วงซึมที่มากกว่าปกติ
  • มีอาการอาเจียนหรือรู้สึกเวียนหัว
  • ปากแห้งแตก คอแห้ง รู้สึกกระหายน้ำ
  • ผิวหนังเป็นผื่นคัน
  • ดวงตาแดงและพร่ามัว
  • รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดท้อง หรือคลื่นไส้

อาการแพ้กัญชาแบบรุนแรง

าการแพ้กัญชาอย่างรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในกลุ่มที่มีอาการแพ้เล็กน้อยไปจนถึงมีอาการแพ้มาก ในกรณีที่มีการใช้กัญชาในปริมาณที่มากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้กัญชาโดยตรงหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาเข้าไป  โดยอาการในระดับนี้ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาหรือแก้อาการแพ้ทันที อาจเกิดอันตรายจนถึงชีวิตได้ ซึ่งอาการแพ้กัญชาแบบรุนแรงที่มักพบในผู้ใช้ คือ

  • ร่างกายมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ
  • มีอาการวิตกกังวล หรือกระสับกระส่าย
  • มีอาการผิดปกติของทางเดินหายใจ เช่น รู้สึกหายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บบริเวณหน้าอก รู้สึกหายใจเหนื่อบหอบ
  • มีอาการหูแว่วและเห็นภาพหลอน
  • มีอาการบวมบริเวณใบหน้าหรือลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง พูดได้ไม่ชัด หรือพูดไม่ออก
  • มีอาการปวดท้องที่รุนแรง ท้องเสีย และถ่ายเหลว
  • มีอาการอาเจียน พะอืดพะอม
  • อาจมีอาการช็อกแบบรุนแรง ซึ่งเป็นอาการที่อันตรายมากที่สุด ที่อาจส่งผลทำให้เสียชีวิตได้

หากสังเกตว่าตนเองและคนรอบข้างที่ใช้กัญชามีอาการดังกล่าวนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือไปสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงทันที เพื่อเข้ารับการรักษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างทันท่วงที

วิธีแก้อาการแพ้กัญชาเบื้องต้น

ในปัจจุบัน การรักษาอาการแพ้กัญชาโดยแพทย์เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด แต่หากไม่ได้เกิดอาการแพ้กัญชาที่รุนแรง หรืออยู่ในระหว่างการรอความช่วยเหลือ เราสามารถรักษาอาการแพ้กัญชาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ดังนี้

  • หยุดการใช้กัญชาทันที หากเริ่มมีอาการแพ้ หรือรู้สึกว่าร่างกายตนเองไม่ปกติหลังจากใช้กัญชา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยอาการแพ้กัญชาอาจเกิดจากสารในกัญชาไปลดความชื้นในร่างกาย ฉะนั้นควรดื่มน้ำให้มากขึ้นให้เพียงพอกับร่างกายที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะและอาการเมา เช่น น้ำมะนาว น้ำชา น้ำขิง หรือน้ำรางจืด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำให้สมองรู้สึกตึงเครียดมากจนเกินไป เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกายเบาๆ การหายใจเข้าลึกๆ หรือการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายสมองต่างๆ ซึ่งจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวและบรรเทาอาการแพ้กัญชาเบื้องต้นได้
  • หากอาการแพ้กัญชาไม่ดีขึ้นหลังจากแก้ไขด้วยวิธีเบื้องต้น ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที

ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง

  1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มห้ามใช้กัญชาไม่สามารถใช้กัญชาได้โดยเด็ดขาด เพราะอาจตามมาด้วยปัญหาสุขภาพที่รุนแรง อันตรายถึงชีวิต ได้แก่ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์หรือกำลังวางแผนมีบุตร ผู้ที่มีประวัติแพ้กัญชา ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดรุนแรง ผู้ที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช ผู้ที่ใช้ยาวาร์ฟารินหรือยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ เพราะกัญชาจะไปเพิ่มขนาดยาวาร์ฟารินจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  2. ก่อนใช้กัญชาควรศึกษาความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงรู้จักสารสกัดสำคัญอย่าง THC (Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol)
  3. เลือกใช้หรือซื้อกัญชาจากร้านที่ซื้อกัญชาจากแหล่งปลูกและแหล่งจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาแล้วเท่านั้น
  4. ควรเริ่มทดลองการใช้กัญชาในปริมาณที่น้อย เพื่อทดสอบว่ามีอาการแพ้หรือไม่ เพราะการใช้กัญชาที่มีปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่รุนแรงได้
  5. ระวังการใช้กัญชาในอาหารที่ผ่านความร้อนนานๆ หรือการกินกัญชาร่วมกับอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เพราะความร้อนและไขมันจะสกัดสาร THC ออกจากกัญชาได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนองต่อร่างกายนั่นเอง

ปริมาณกัญชาที่ใช้แล้วปลอดภัย 

กรมอนามัยได้ประกาศการใช้ปริมาณกัญชาในการประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัย ดังต่อไปนี้

  • ประเภททอด น้ำหนัก 51 กรัม : ใช้ใบกัญชา 1-2 ใบสด กรณีทำไข่เจียว แนะนำครึ่งใบถึง 1 ใบสด เนื่องจากสาร THC และ CBD ละลายได้ดีในน้ำมัน
  • ประเภทผัด น้ำหนัก 74 กรัม : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • ประเภทแกง น้ำหนัก 614 กรัม : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • ประเภทต้ม น้ำหนัก 614 กรัม : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
  • การผสมในเครื่องดื่ม ขนาด 200 มิลลิลิตร : ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด

กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ช่วยในการผ่อนคลายร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ สามารถลดอาการเครียดและซึมเศร้าได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีสารที่ทำให้เสพติดและทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น สารสำคัญ THC (Tetrahydrocannabinol) หรือสารอื่นๆ ที่อยู่ในกัญชา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองที่ผิดปกติ จนเกิดเป็นอาการแพ้ในลักษณะต่างๆ ฉะนั้นควรบริโภคและใช้กัญชาอย่างถูกวิธี อยู่ภายใต้ข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดและคำแนะนำที่ให้ไว้โดยกรมอนามัยอย่างเคร่งครัด เพื่อเข้าถึงสรรพคุณที่ถูกต้อง และลดความเสี่ยงต่อร่างกายและสภาพจิตใจของเรา

สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ร้าน 420 Fourtwenty แหล่งจัดจำหน่ายกัญชาที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา พร้อมให้คำปรึกษาและการแนะนำ โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยและประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภคเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยีงมีผลิตภัณฑ์กัญชาพรีเมียมที่สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์ให้เลือกหลากหลาย สามารถเลือกซื้อให้ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้เลย

ขอบคุณภาพจาก weinerphd.com
ขอบคุณที่มาแหล่งข้อมูล BangkokBiz

Loading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *